วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ในรอบหนึ่งปีกำหนดไว้ ๖ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา

1) วันมาฆบูชา
มาฆบูชา เป็นชื่อของพิธีบูชา และการทำบุญในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะหรือเดือน ๓ ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน จะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ โดยปกติวันมาฆบูชาจะอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ เราเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระธรรม”
ความสำคัญของวันมาฆบูชา
มาฆบูชาเป็นวันระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญแห่งการประชุมใหญ่แห่งมหาสาวกของพระพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธเจ้า ๔ อย่างในวันเดียวกัน จึงเรียกว่า วันจาตุรงอ่านเพิ่มเติม





พุทธประวัติและชาดก

1 พุทธประวัติ
1.1 หลักการสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงสอนใครแต่ละครั้ง พระองค์ก็ทรงอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่าง ในการสอนบุคคลระดับต่างๆ ที่มีพื้นฐานความรู้ สติปัญญาที่แตกต่างกัน พระองค์ได้ประยุกต์คำสอนแต่ละลักษณะให้มีความเหมาะสม เป็นการสอนที่แสดงถึงพุทธลีลาของพระองค์ ที่สำคัญการสอนในลักษณะนี้ของพระองค์ เป็นการนำเนื้อหาที่มีอยู่มาทำการตีความ โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วนำเข้าสู่หลักการที่ถูกต้อง ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาดังนี้
1.สอนจากสิ่งที่รู้เห็นเข้าใจง่ายหรือรู้เห็นเข้าใจอยู่แล้วอ่านเพิ่มเติม




ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนานอกจากจะเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยแล้วพระพุทธศาสนายังเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทยอีกด้วย จะเห็นได้จากวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา ความคิดและกิจกรรมทุกด้านของชาติไทยล้วนผสมผสานอยู่ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา    พระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมจิตชีวิตจิตใจและลักษณะนิสัยของคนไทย ให้เป็นผู้ที่มีจิตใจร่าเริงเบิกบาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แสดงความเป็นมิตร ยินดีในการให้แบ่งปันให้ความช่วยเหลือ เป็นคนมีน้ำใจ อันเป็นลักษณะเด่นชัดที่ชนต่างชาติประทับใจ และตั้อ่านเพิ่มเติม

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาพระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์พระพุทธ     คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามพระธรรม     คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระสงฆ์     คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม
ความสำคัญของพระรัตนตรัยพระรัตนตรัยนอกจากจะเป็นแก้วอันประเสริฐของชาวพุทธแล้ว พระรัตนตรัยยังเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่ดีที่สุดของชาวพุทธ ในชีวิตประจำวันของชาวพุทธจะเกี่ยอ่านเพิ่มเติม

พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต


พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎกเป็น1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท
ในพระสูตรนี้ มิใช่ว่าจะมีแต่พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าเท่านั้นยังมีธรรมภาษิตของเทวดาผู้มาเฝ้าและสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าก็มีมีธรรมภาษิตของพระอรหันตสาวกและของพระอรหันตสาวิการวมอยู่ด้วย ฉะนั้น พระสูตรจึงประกอบด้วยอรรถรสและธรรมรสหลากหลาย ซึ่งเป็นมรดกทางปัญญาตกทอดมาแต่บรรพบุรุษผู้ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าและยึดถือเป็นหลักปฎิบัติในการดำรงชีวิตย่อมก่อให้เกิดคอ่านเพิ่มเติม

การบริหารจิตและเจริญปัญญา

จิตที่ไม่ได้รับการฝึกมักจะหวั่นไหวเอนเอียงได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งมากระทบ เช่น หากมีใครมาทำให้โกรธก็มักจะโกรธจนหน้าดำหน้าแดง ใช้คำด่าที่ก้าวร้าว หยาบคาย ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่มีอาการเช่นนี้หรือบางครั้งเมื่อเกิดความรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจบ่นเพ้อถึงกับเสียสติไปก็มี หรือเมื่อดีใจก็ระงับตัวเองไม่อยู่ พลอยกระโดดโลดเต้น ถึงกับร้องไห้ไปเลยก็มี ลักษณะอาการเช่นนี้ เรียกว่าเป็นจิตอ่อนแอ การที่จะฝึกจิตให้เข้มแข็งไม่อ่อนแอได้นั้น จะต้องหมั่นพยายามฝึกฝนอยู่เสมอ เพราะจิตของคนเราเป็นสภาพที่กลับกลอ่านเพิ่มเติม

หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ


หน้าที่ชาวพุทธ
พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัอ่านเพิ่มเติม

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา



ความหมายของศาสนา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า “ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ “ศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อ่านเพิ่มเติม

ศาสนาต่างๆ ในประเทศไทย

ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติมาโดยตลอด นับตั้งแต่ได้ตั้งเป็นแว่นแคว้น และเป็นราชอาณาจักรแต่ก็ได้เอื้อเฟื้อต่อคนไทยผู้นับถือศาสนาอื่น และให้ความอุปถัมภ์ศาสนาอื่นตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงอุปถัมภ์ไว้แล้ว และมีนโยบายที่จะป้องกันมิให้คนไทยที่นับถือศาสนาแตกต่างกันเบียดเบียนกัน มีความสมานฉันท์ สามารถอยู่ร่วมกันด้วยความสุขสงบร่มเย็น โดยทุกคนมีเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมตามศาสนาของตอ่านเพิ่มเติม

                         

พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง

นางจูฬสุภัททาเป็นธิดาของเศรษฐีชื่อว่า อนาถบิณฑิก ชาวเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ซึ่งบิดาของนางเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าและเคารพพระสงฆ์เป็นอย่างมาก ท่านได้สร้างวัดชื่อว่า “เชตวัน” ถวายด้วย อนาถบิณฑิกเศรษฐี มีบุตรชาย 1 คน ธิดา 3 คน ท่านได้ปลูกฝังให้ลูก ๆ ได้ซาบซึ้งในคุณของพระรัตนตรัยด้วย นอกจากนี้ท่านยังได้นิมนต์พระสงฆ์มาฉันที่เรือนของท่านเป็นประจำ และได้มอบหน้าที่การจัดเลี้ยงดังกล่าวแก่นางมหอ่านเพิ่มเติม